คอนติเนนทอล นำการวิจัยพร้อมบุกเบิกการคมนาคมที่ยั่งยืนร่วมกับพันธมิตร

สิงคโปร์ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คอนติเนนทอลประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) สามฉบับร่วมกับพันธมิตรระดับโลกและท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยในสิงคโปร์ด้านการสร้างระบบนิเวศการคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การร่วมมือระหว่างคอนติเนนทอล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) และ โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น มุ่งพัฒนาระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การร่วมมือกับคณะกรรมาธิการพลังงานทางเลือกฝรั่งเศส (CEA) และ NTU ในวิจัยโซลูชันใหม่ของการรีไซเคิลชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากยานยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน บันทึกความเข้าใจระหว่าง NTU และ Pylon City ครอบคลุมการศึกษาระบบชาร์จอัจฉริยะและการเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ คอนติเนนทอลและ Pylon City มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานระดับชาติสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในการชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้ง



“คอนติเนนทอลมีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับผู้เล่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยที่ได้รับการยกย่อง เพื่อเร่งอนาคตของการคมนาคมที่ยั่งยืน ด้วยการร่วมใช้ประโยชน์จากความสามารถและทรัพยากรของพันธมิตร เราสามารถบุกเบิกโซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงภาคส่วนยานยนต์และพัฒนามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับอนาคต” Lo Kien Foh ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของคอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ สิงคโปร์กล่าว

“ความร่วมมือเหล่านี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของคอนติเนนทอลซึ่งครอบคลุมในแง่มุมต่างๆ เช่น ความเป็นกลางทางคาร์บอน ความรับผิดชอบในห่วงโซ่คุณค่า และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน” Lo Kien Foh กล่าวเสริม

MoU 1: คอนติเนนทอล NTU และโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น มุ่งมั่นปฏิวัติการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป ตระหนักว่าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จและการจัดหาพลังงานที่ยั่งยืนนั้นเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนการเดินทางด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในอนาคต โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น กำลังเร่งดำเนินการในการเปลี่ยนผ่านพลังงานไฟฟ้าโดยร่วมมือกับแล็บของคอนติเนนทอลและ NTU เพื่อสำรวจระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ

ด้วยความร่วมมือนี้ แผนกนวัตกรรมของผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันชื่อดังจะประเมินข้อได้เปรียบของการกำหนดราคาแบบไดนามิคในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โครงการริเริ่มการวิจัยร่วมกันนี้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อส่งเสริมการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงเวลาปกติหรือเมื่อมีแหล่งพลังงานทดแทนมากมาย

“โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น ยังคงแน่วแน่ในการอุทิศตนเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ ในการเป็นผู้นำด้านการคมนาคมที่ยั่งยืนและการเข้าถึงเครือข่ายที่เป็นกลางภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมในสิงคโปร์ เรามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเป็นพันธมิตรร่วมกับนักสร้างสรรค์นวัตกรรมชั้นนำเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการขับเคลื่อนที่ก้าวล้ำ โดยเน้นที่โซลูชั่นการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับการพัฒนาต่อไปในระดับโลก ความร่วมมือของเรากับคอนติเนนทอลและ NTU เป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นของเราต่อนวัตกรรมที่ล้ำสมัย เช่น โมเดลการกำหนดราคาแบบไดนามิคสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยในการทำงานร่วมกันนั้น เราควบคุมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเรียลไทม์และปัญญาประดิษฐ์เพื่อสำรวจบุกเบิกวิธีการลดการปล่อยก๊าซจากการชาร์จและสร้างมาตรฐานใหม่ในการเดินทางโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม” Petromil Petkov หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมแห่งสิงคโปร์ กล่าว

“เราภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับคอนติเนนทอล และ NTU ในความพยายามบุกเบิกของพวกเขา วิสัยทัศน์ที่เรามีร่วมกันด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นนั้นสอดคล้องกับความมุ่งมั่นระดับโลกของ โฟล์คสวาเกนในด้านการขนส่งที่ยั่งยืน เราไม่เพียงแต่ทุ่มเทในการเปิดรับการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าโดยการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆของโลกที่นำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆของโฟล์คสวาเกน สโกด้า และคูปร้า แต่ยังมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการจ่ายพลังงานให้กับรถยนต์เหล่านั้นอย่างยั่งยืน” ดร. Kurt Leitner กรรมการผู้จัดการโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป ภายในประเทศ กล่าว

MoU 2: คอนติเนนทอล CEA และ NTU ร่วมมือพัฒนาโซลูชั่นการหมุนเวียนของอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
หนึ่งในความมุ่งมั่นของคอนติเนนทอลคือการบรรลุเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ในทรัพยากรแบบปิดและวงจรผลิตภัณฑ์ภายในปีพ.ศ. 2593 โดยผู้เชี่ยวชาญของบริษัทจะทำงานร่วมกับนักวิจัยเพื่อศึกษาความยั่งยืนของอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ การค้นคว้าจะดำเนินการที่ศูนย์วิจัยในประเทศสิงคโปร์โดย CEA และ NTU หรือที่เรียกว่า NTU Singapore-CEA Alliance for Research in Circular Economy (SCARCE) คอนติเนนทอลและ SCARCE จะศึกษาการพัฒนาการหมุนเวียนของ PCB ในยานยนต์ เช่น การออกแบบเชิงนิเวศน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการแยกชิ้นส่วน PCB ที่ใช้แล้วและการเรียงลำดับส่วนประกอบอัตโนมัติด้วยโซลูชันอัจฉริยะ เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง

“ด้วยพลังการขับเคลื่อนจากซอฟต์แวร์ที่ก้าวล้ำและการติดตั้งระบบควบคุมโดยอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น ยานยนต์จึงมีความก้าวหน้าอย่างมากและการพึ่งพาเทคโนโลยีจะมีความสำคัญมากขึ้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีบทบาทที่จำเป็นเนื่องด้วยในอนาคตยานยนต์จะพัฒนาไปสู่คอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนที่ได้ และเนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์นั้นมีเทคโนโลยีสูงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นด้วย เมื่อร่วมมือกับคอนติเนนทอล เรามุ่งหวังที่จะบรรลุความเป็นหมุนเวียนที่มากขึ้นในขณะที่เราเราระบุแนวทางแก้ไขและแบ่งปันคำแนะนำในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรม” Jean Christophe Gabriel ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย CEA และผู้อำนวยการร่วมของ SCARCE กล่าว

ตามเอกสารรายงานของ KPMG ปริมาณสารกึ่งตัวนำในรถยนต์จะเพิ่มขึ้นมากถึงสิบเท่าในอนาคต เนื่องจากแนวโน้มของยานยนต์ เช่น ความเป็นอิสระ การใช้พลังงานไฟฟ้า การเชื่อมต่อ และความคล่องตัวในรูปแบบการบริการ (MaaS) โดยแนวโน้มนี้ได้ตอกย้ำความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการค้นหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง

เนื่องจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ การวิจัยร่วมกับ SCARCE จึงพยายามที่จะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงความอยู่รอดทางเศรษฐกิจในการรีไซเคิล PCB นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังมุ่งมั่นที่จะจัดทำแนวทางในการออกแบบยานพาหนะเพื่อให้มั่นใจด้านความยั่งยืนจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญและรวมอยู่ในกระบวนการผลิตรถยนต์ในอนาคตแบบครบวงจร

MoU 3: คอนติเนนทอล NTU และ Pylon City ร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น
ด้วยการเติบโตของกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศสิงคโปร์รวมถึงการแบ่งปันการใช้รถยนต์หรือการขนส่ง ทำให้ความต้องการของเครื่องชาร์จและการใช้พลังงานนั้นเพิ่มขึ้นตามลำดับ จึงทำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ เช่น การปรับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและการสร้างความมั่นใจแก่โครงข่ายไฟฟ้าที่จะไม่ได้รับภาระมากเกินไป การทำงานผ่านแล็ปของคอนติเนนทอลและ NTU นั้น คอนติเนนทอลและ NTU ร่วมกับ Pylon City จะร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาอัลกอริธึมการกำหนดเวลาการชาร์จที่ตอบสนองความต้องการตามสถานีเพื่อลดการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ในขณะที่ยังคงรักษาระดับการบริการสำหรับกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า

อัลกอริธึมดังกล่าวจะปูทางไปสู่การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีขึ้นรวมถึงการแบ่งปันการควบคุมความต้องการของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบการจัดการยานยนต์อัจฉริยะ ระบบนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระดับการชาร์จ ตารางเวลา ระยะเวลา และสถานที่ชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ยาวนานสูงสุดเพื่อการใช้งานที่ยั่งยืน

“ในขณะที่เมืองต่างๆ เช่น สิงคโปร์ ผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พวกเขานั้นต้องมีความมั่นใจในโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นได้รับการพัฒนาพร้อมทั้งสร้างความมั่นใจในความเป็นอยู่ที่ดีของสภาพแวดล้อมของเรา ด้วยความเชี่ยวชาญเชิงลึกของ NTU ในด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เราหวังว่าจะพัฒนาระบบนิเวศที่ยั่งยืนสำหรับการชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบุกเบิกและเรียนรู้เพื่อจัดการอุปทานและอุปสงค์ของการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ความยั่งยืนและความร่วมมือในอุตสาหกรรมนั้นเป็นเสาหลักภายใต้แผนยุทธศาสตร์ NTU 2025 และเราหวังว่าจะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคอนติเนนทอล และ Pylon City เพื่อออกแบบ พัฒนา และใช้งานระบบที่เหมาะสมที่สุดเพื่อนำพาประเทศสิงคโปร์เข้าสู่การขับเคลื่อนอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” Lam Khin Yong รองอธิการบดี NTU (ภาคอุตสาหกรรม) กล่าว

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์จำนวนสองแห่งจะถูกสร้างขึ้นที่สำนักงานของคอนติเนนทอลประเทศสิงคโปร์ให้สำหรับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า โดยพลังงานที่กักเก็บในหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์จะมีส่วนช่วยโดยตรงในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ ในขณะที่ข้อมูลที่รวบรวมจากสถานีชาร์จจะให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกัน โดยสถานีชาร์จจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่สี่ของปีพ.ศ. 2566
เนื่องจากธุรกิจต่างๆ หันมาใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติมากขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติ คอนติเนนทอลและ Pylon City จะขับเคลื่อนการพัฒนา การทดลองใช้ และกำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานของการชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้งในประเทศสิงคโปร์เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศในการมุ่งสู่เป้าหมายเป็นประเทศอัจฉริยะ โดยทุกฝ่ายจะจัดตั้งและเป็นผู้นำคณะกรรมการที่จะประกอบด้วยผู้เล่นในอุตสาหกรรมอื่นๆด้วยเพื่อสร้างข้อมูลอ้างอิงด้านเทคนิคซึ่งมีส่วนสร้างมาตรฐานระดับชาติในอนาคต ต้นแบบเครื่องชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติจะถูกนำไปใช้กับอาคารของคอนติเนนทอลและสถานที่ทดสอบอื่นๆเพื่อตรวจสอบข้อกำหนดการชาร์จที่แตกต่างกัน เช่น ขั้วต่อการชาร์จและระดับพลังงาน

Vincent Lau ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Pylon City กล่าวว่า "เราปรารถนาที่จะทำให้เมืองต่างๆเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น เรารู้สึกยินดีที่ได้เห็นธุรกิจต่างๆใช้ประโยชน์จากและบูรณาการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติในกระบวนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับโซลูชันไฟฟ้าอัจฉริยะและการอำนวยความสะดวกในการใช้งานของหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้งในวงกว้าง การนำมาตรฐานระดับชาติมาใช้ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ สิ่งนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้เล่นในอุตสาหกรรมว่าความต้องการของพวกเขาจะได้รับการตอบสนอง รวมถึงความพร้อมใช้งานและคุณภาพของสถานีที่เชื่อมต่อทั่วสิงคโปร์หรือการทำให้เครื่องชาร์จตรงตามข้อกำหนดต่างๆ เช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกันและความปลอดภัย”

Visitors: 1,505,726